Wednesday, April 28, 2021

ตุ๊ดเอ๋ย ตุ๊ดตู่ ในเรี่ยวในรูช่างอยู่ได้ ขี้เกียจนักหนาระอาใจ มาเรียกให้กินหมากไม่อยากคบ ชาติขี้เกียจเบียดเบียนแต่เพื่อนบ้าน การงานสักนิดก็คิดหลบ ตื่นเช้าเราจักหมั่นประชันพลบ ไม่ขอพบขี้เกียจ เกลียดนักเอย ฯ ดอกสร้อยสุภาษิต กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เอกสารภาษาไทยหลายที่เขียนบรรยายพฤติกรรมของตุ๊ดตู่ว่า ไม่ค่อยออกไปหากินไกลจากที่หลับนอน ชอบนอนตามโพรงไม้ หรือซอกหิน เมื่อหิวจึงจะออกหากิน แล้วก็กลับเข้าหลับนอนตามเดิม
ตุ๊ดตู่เป็นสัตว์ที่เล็กที่สุดในกลุ่มสัตว์จำพวกเหี้ย-ตะกวดที่พบได้ใน ป่าดิบชื้นภาคใต้ของประเทศไทยและพบในมาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนียว ชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้ ตามพื้น ใกล้ลำธาร ป่าดิบชื้น ป่าโกงกาง และตามเกาะแก่ง
ตุ๊ดตู่มีลักษณะลำตัวค่อนข้างป้อมสั้นและอ้วน เกล็ดเป็นสันแข็งขนาดใหญ่ โดยเฉพาะที่คอจะเป็นแผ่นใหญ่และกลม มีลายแถบสีครีมตามตัว ลำตัวและหางมีสีน้ำตาลแดงไปจนถึงน้ำตาลดำ
ในช่วงอายุตั้งแต่ออกจากไข่จนถึงอายุ 4 -8 สัปดาห์ตั้งแต่ปลายปากถึงคอมีสีส้มถึงแดงเข้ม และ มีขีดสีดำตั้งแต่ขอบตาถึงคอ มีแถบสีเหลืองโดยรอบตั้งแต่คอถึงปลายหาง
Read more!

Sunday, July 26, 2009

cattle grid

cattle grid เป็นรูปแบบของการแบ่งพื้นที่ระหว่างผู้เที่ยวชมกับสัตว์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถดูตัวอย่างได้ที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียวที่ส่วนแสดงละมั่งพันธุ์พม่าและที่ส่วนแสดงกวางเอเชีย
Read more!

Tuesday, February 19, 2008

การทำวัคซีนในสัตว์พิเศษและสัตว์ป่า

Vaccination of Exotics and wild animals

 

นศ.สพ.สุพณิช์สา พิพัฒน์เจษฎากุล

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พุทธมณฑล นครปฐม 73170

ปัจจัยที่พิรจารณาการทำวัคซีนในสัตว์ป่าและประสิทธิภาพของการทำวัคซีน

การเลือกใช้วัคซีนในสัตว์แต่ละตัวนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆประการได้แก่ โอกาสที่สัตว์จะได้รับเชื้อชนิดนั้นนั้น ถ้าสัตว์ไม่มีโอกาสที่จะได้รับเชื้อนั้นหรือมีโอกาสน้อยมากก็ไม่มีประโยชน์ในการทำวัคซีนนั้น

วัคซีนจะทำงานโดยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน สัตว์ป่าส่วนใหญ่มักจะกลัวสิ่งใหม่ๆ การเข้าฝูงใหม่ อารใหม่ กลิ่นใหม่ๆ และสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความเครียด ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และลดประสิทธิภาพของการทำวัคซีน  ดังนั้นการทำวัคซีนควรจะรอให้สัตว์สามารถปรับตัวได้ก่อน ซึ่งในสัตว์แต่ละชนิด บางชนิดก็สามารถปรับตัวได้เร็วกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ บางชนิดก็ต้องใช้เวลามากในการปรับตัว นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมสัตวแพทย์บางคนจึงให้วัคซีนบ่อยกว่าที่ฉลากแนะนำ (อาจจะให้ทุก 6 เดือน) ซึ่งการทำวัคซีนบ่อยกว่าปีละครั้งนั้น ควรจะเลือกวัคซีนเชื้อตาย nonadjuvanted และใช้เข็มที่สั้นและเล็กที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

ชนิดของเชื้อวัคซีนจะไปกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว เช่น Lymphocytes, Macrophage และ Plasma cells ที่วันที่ 8 – 12 หลังการทำวัคซีน Plasma cells จะเริ่มผลิต Antibody วัคซีนบางชนิดสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันไปได้ตลอดชีวิต แต่วัคซีนบางชนิดก็กระตุ้นภูมิได้น้อยกว่านั้น เช่น Leptospirosis, Chlamydia และ Bordetella สมารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้เพียง 6 เดือนเท่านั้น

ชนิดของวัคซีน เนื่องจากดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า วัคซีนที่ใช้ในสัตว์พิเศษและสัตว์ป่าเป็นการใช้นอกฉลาก ซึ่งโดยทั่วไปการเลือกใช้วัคซีนเชื้อตายจะปลอดภัยกว่าการใช้ Modified live vaccine แม้ว่า Modified live vaccine จะไม่ก่อให้เกิดโรคในสัตว์เลี้ยง แต่ในสัตว์ชนิดอื่นก็ไม่แน่เสมอไป ส่วนวัคซีน distemper ที่เป็น Modified live vaccine สามารถใช้ได้ปลอดภัยในสัตว์พิเศษและสัตว์ป่า

ในกรณีที่ไม่สามารถจับบังคับสัตว์ได้ ต้องทำการฉีดวัคซีนโดยการเป่าลูกดอกต้องให้แน่ใจว่าสัตว์ได้รับวัคซีนครบ dose แล้วจริงๆ  เพราะอาจทำให้ภูมิคุ้มกันไม่สามารถถึงระดับป้องกันโรคได้

โรคที่สำคัญและมีการทำวัคซีนในสัตว์พิเศษและสัตว์ป่า

1.      Canine distemper

สมาชิกทั้งหมดของ Families Canidae, Procyonidae, Mustelidae และสมาชิกบางตัวของ Families Viverridae สามารถเกิดโรคนี้ได้ ส่วน Families  Hyanenidae และ Ursidae ยังไม่เป็นที่แน่ชัด ส่วนอาการของโรคนี้ในสัตว์ป่าค่อนข้างที่จะคล้ายคลึงกับอาการในสุนัข แต่อาการทางระบบประสาทมักจะปรากฎออกมาในรูปแบบที่ไม่กลัวคน ซึ่งสามารถทำให้สับสนกับโรคพิษสุนัขบ้าได้ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการติดโรคนี้ในสัตว์กลุ่ม felidae (Myers et al., 1997;Max et al., 1997) ส่วนการทำวัคซีนในสัตว์กลุ่มนี้ถือว่ายังไม่มีความจำเป็นมากนัก ยกเว้นในกรณีเกิดการระบาดของโรคเกิดขึ้น

ข้อควรระวังของการทำวัคซีนโรคนี้ในสัตว์ป่าคือ สัตว์อาจอยู่ในระยะฟักตัวของโรค ซึ่งจะแตกต่ากันไปตามแต่ชนิดสัตว์ แต่ละตัว ดังนั้นการทำวัคซีน Modified live vaccine จึงอาจทำให้เกดการพัฒนาของโรคได้ ขณะที่วัคซีนเชื้อตายดีกว่าในข้อนี้ แต่ไม่มีวัคซีนเชื้อตายในโรค Canine distemper  แต่ได้มีการใช้ Modified live vaccine ที่ผลิตจาก chick embryo และ avian tissue culture มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ซึ่งสามารถให้ผลดีที่สุดและปลอดภัยที่สุด

การทำวัคซีนโรคนี้ใน Mink และสัตว์ในกลุ่ม Mustelidae พบว่าสามารใช้ Modified live vaccine ที่มีอยู่ตามท้องตลาดได้ทุกชนิด โดยไม่ทำให้เป็นโรค Canine distemper จากการฉีดวัคซีน แต่อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าใน European mink สามารถเกิดโรค Canine distemper จากการฉีดวัคซีนได้

สำหรับการทำวัคซีนโรคนี้ใน red panda และ  giant panda ไม่ควรใช้ Modified live vaccine ต้องใช้วัคซีนเชื้อตายเท่านั้น

ส่วน Modified live vaccine ที่ผลิตมาจาก ferret ไม่อ่อนแรงเพียงพอสำหรับสัตว์ป่า จึงห้ามใช้ในสัตว์ป่า

2.      Canine parvovirus และ Feline panleukopenia

Canine parvovirus, Raccoon parvovirus และ Feline panleukopenia มีความเป็น antigenicity และ pathogenicity ใกล้เคียงกัน สัตว์กลุ่ม Canidae, felidae, Mustelidae ส่วนใหญ่ Procyonidae และ Viverridae สามารถเกิดโรคนี้ได้อย่างน้อยหนึ่งในสามของโรคในกลุ่ม Parvoviruses นี้

Modified live vaccine อาจจะไม่ปลอดภัยสำหรับสัตว์ป่า ดังนั้นควรจะใช้วัคซีนที่ผลิตมาจาก tissue หรือ tissue culture เท่านั้น ส่วนการให้วัคซีนของโรคนี้จะแตกต่างกันไปในสัตว์แต่ละกลุ่ม โดยจะแบ่งออกเป็นสัตว์ Species เล็กๆ และสัตว์ Species ใหญ่ๆ โดยในสัตว์ Species เล็กๆ ก็จะให้วัคซีนปริมาณมาตรฐานทั่วไป 1 Dose (1 – 2 ml)  Route subcutaneous หรือ intramuscular ส่วนสัตว์ species ใหญ่ๆ ให้วัคซีน 2 ml / 10 lb (4.5 kg) น้ำหนักตัว แต่ปริมาณที่ให้ได้มากที่สุดคือ 10 ml booster ที่ 10 – 14 วัน หลังจากนั้นฉีดทุก 6 – 12 เดือน

การใช้วัคซีนชนิดนี้ร่วมกับวัคซีนชนิดอื่นๆเช่น Modified live vaccine Canine distemper, Canine adenovirus 2, Canine parainfluenza, Canine parvovirus พบว่าสามารถใช้ได้ในกลุ่ม Canidae โดยไม่มี adverse effect แต่ก็แตกต่างกันไปในหมอแต่ละคน ส่วนการใช้ Modified live feline vaccine ซึ่งประกอบด้วย feline panleukopenia, feline rhinotracheitis และ feline caliciviruses หมอส่วนใหญ่รายงานว่าให้ผลดี แต่มีเล็กน้อยที่รายงานผลตรงกันข้าม แต่อย่างไรก็ตามวัคซีนเชื้อตายที่มีส่วนประกอบของเชื้อ feline panleukopenia, feline rhinotracheitis และ feline caliciviruses ดีกว่า Modified live vaccine

3.      Equine encephalomyelitis (Eastern, Western และVenezuelar)

สัตว์ในกลุ่ม Equidae สามารถเกิดโรค Equine encephalomyelitis ได้ การทำวัคซีนแนะนำให้ทำในพื้นที่ที่มีการระบาดเท่านั้น ซึ่งอาจจะทำวัคซีน trivalent (EEE, WEE, VEE) หรือ bivalent (EEE, WEE) หรือร่วมกับ tetanus toxoid ฉีด intradermal หรือ intramuscular ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของบริษัท ครั้งแรกให้ทำวัคซีน 2 เข็มห่างกัน 1 – 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นฉีดทุกปี

4.      Equine herpesvirus  1 infection

โรคนี้สามารถทำให้เกิดการแท้งในสัตว์กลุ่ม Equidae ได้ วัคซีนที่ใช้ควรจะใช้วัคซีนเชื้อตายเท่านั้น เพราะไม่รู้ว่า Modified live vaccine อ่อนแรงเพียงพอมั๊ย การทำวัคซีนเริ่มทำครั้งแรกที่อายุ 3 – 4 เดือน และอีกเข็มที่อายุ 4 เดือน หลังจากนั้นฉีดทุกปี ส่วนในแม่ม้าควรจะฉีดทุก 4 เดือน เพื่อ maintain ระดับของ antibody ในร่างกายให้อยู่ในระดับที่ป้องกันเชื้อได้ และเพราะว่าการติดเชื้อตามธรรมชาติจะมีภูมิคุ้มกันเพื่อปกป้องร่างกายนาน 4 เดือน เราจึงควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ทุก 4 เดือน

5.      Erysipelas

เกิดจากเชื้อ Erysipelothrix rhusiopathiae ทำให้เกิดโรคในสัตว์กลุ่ม Suidae และ Tayassuidae (peccaries) การทำวัคซีน Erysipelas bacterin 2 ml ฉีด subcutaneous ที่อายุ 2 – 3 เดือน เข็มที่ 2 หลังจากนั้น 3 – 5 สัปดาห์ และฉีดซ้ำทุกปี

6.      Feline caliciviruses

สัตว์กลุ่ม felidae สามารถเกิดโรค Feline caliciviruses ได้เหมือนกับ feline rhinotracheitis วัคซีนของโรคนี้มักจะ combine กับวัคซีน feline อื่นๆ การทำวัคซีนโรคนี้จึงเหมือนกับ feline rhinotracheitis

7.      Feline herpesvirus rhinotracheitis

โรคนี้เป็นโรคที่ร้ายแรงมากในสัตว์กลุ่ม felidae วัคซีนของโรคนี้ในปัจจุบันมีทั้งแบบเชื้อตายและ Modified live vaccine ปกติจะให้ร่วมกับ feline วัคซีนตัวอื่นๆ เช่น feline panleukopenia virus วิธีการทำวัคซีนคือ subcutaneous หรือ intramuscular เข็มแรกตอนหย่านม หลังจากนั้นฉีดทุกเดือนจนอายุครบ 4 เดือนจึงฉีดทุกปี

8.      Infectious canine hepatitis (Canine Adenovirus 1 [CAV-1])

โรคนี้เกิดกับสมาชิกในกลุ่ม Canidae ทุกตัว ในหมาป่า (Fox) เรียกโรคนี้ว่า fox encephalitis ลักษณะเด่นของโรคนี้คือ Neutropism และมีอาการทางระบบประสาท ในปัจจุบันพบว่ามีการติดโรคไปยังสัตว์กลุ่ม Ursidae ด้วย วัคซีนของโรคนี้ไม่มีเชื้อตายมีแต่ Modified live vaccine ซึ่งจะ combine กับ Canine distemper, CAV-1 และ CAV-2

Modified live vaccine CAV-2 ทำให้เกิดปฏิกริยาหลังการทำวัคซีน (Postvaccinal reaction) น้อยกว่า CAV-1 และดีกว่าในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของทั้ง CAV-1 และ CAV-2 ไวรัสทั้ง 2 ชนิดนี้มีความเป็น antigenicity ใกล้เคียงกันมาก และมี cross protection กัน การทำวัคซีนก็จะให้ Combination วัคซีน subcutaneous หรือ intramuscular เข็มแรกตอนหย่านม เข็มที่ 2 หลังจากนั้น 10 – 14 วัน แล้วฉีดทุก 6 – 12 เดือน

9.      Leptospirosis

โรคนี้ทำให้เกิดโรคได้บางโอกาสในสัตว์กลุ่ม Canidae, Procyonidae, Ursidae, Mustelidae, Suidae, Tayassuidae, Carvidae และruminant อื่นๆ ในกลุ่ม Bovidae, Camelidae, Giraffidae วัคซีนจะเป็นในรูปแบบของ Bacterin ซึ่งจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในการต่อต้านเชื้อ Leptospira interrogans serovars canicola และ icterohaemorrhagiae ใช้ใน carnivore ส่วนใน Ruminant ใช้วัคซีน bacterin ที่ประกอบด้วย serovars pomona, hardjo, icterohaemorrhagiae, canicola, และ grippotyphosa ใน carnivore ฉีดวัคซีน 1 – 2 ml subcutaneous หรือ intramuscular ที่อายุ 6 – 8 สัปดาห์ เข็มที่ 2 ฉีดหลังจากนั้น 14 วัน และฉีดทุก 6 เดือน ส่วน Ruminant ฉีดวัคซีน 5 ml intramuscular ทุก 6 เดือน ถึง 1 ปี

10.  Measles, Mumps และ Rubella

เกิดโรคกับสัตว์กลุ่ม Pongidae การทำวัคซีนทำที่อายุ 2 – 3 เดือน Modified live human vaccine 0.5 ml subcutaneous หลังจากนั้นฉีดทุกปี

11.  Parainfluenza 3

เชื้อ parainfluenza 3 สามารถทำให้ wild goat และ sheep เกิดโรค Shipping fever ได้เหมือนกับใน domestic sheep การเกิดโรคนี้อาจเกิดร่วมกับเชื้อ Pasteurella และสัมพันธ์กับความเครียด Modified live PI-3 vaccine สามารถให้ได้เพื่อลดโอกาสการเกิดโรค lamb pneumonia ได้ การทำวัคซีนที่อายุ 3 – 4 เดือน intranasal ข้างละ 1 ml ครั้งที่ 2 หลังจากนั้น 3 – 4 สัปดาห์ ทำวัคซีนซ้ำทุกปีและก่อนที่จะขนส่ง

12.  Poliomyelitis

ใน primates โดยเฉพาะ Pongidae (Great apes) สามารถเกิดโรค Poliomyelitis ได้ การทำวัคซีนจะทำ Trivalent Modified live Poliomyelitis vaccine ทางการกินจะให้ผลดีมากกว่าการฉีด โดยให้ single human dose (0.5 ml) บน sugar cube ครั้งที่ 2 ที่อายุ 6 เดือน และทุกปี สัตว์ที่ทำวัคซีนแล้วควรแยกออกจากตัวที่ไม่ได้ทำวัคซีน

13.  Rabies

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดสามารถเกิดโรคนี้ได้ ในพื้นที่ที่การระบาดของโรคนี้เยอะมักเป็นบริเวณที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างอิสระสูง สัตว์เลี้ยงด้วยนมในสวนสัตว์หรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆอาจจะมีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อมากขึ้น นอกจากนี้โรคนี้ยังสามารถติดต่อมายังคนและไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้นการทำวัคซีนถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นมาก อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของการทำวัคซีนในสัตว์ป่ายังไม่มีข้อมูลมากนัก และยังไม่มีวัคซีนสำหรับสัตว์ป่าในโรคนี้เหมือนกันกับโรคอื่นๆ ดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดคือใช้วัคซีนเชื้อตาย วัคซีนหลายชนิดที่ผลิตจาก Nervous tissue (เช่น murine, ovine, หรือ caprine) หรือ tissue-culture พบว่าน่าพอใจในด้านของความปลอดภัย การกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกัน ส่วนวัคซีนที่ผลิตมาจาก human diploid cell-line สามารถกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุดในสัตว์เลี้ยง วัคซีนชนิดนี้ควรจะฉีด deep intramuscular การทำวัคซีนควรจะเริ่มทำในอายุ 3 – 4 เดือน และฉีดซ้ำทุกปี Modified live rabies vaccine ที่มีใช้ในสัตว์เลี้ยงไม่ควรใช้ในสัตว์พิเศษและสัตว์ป่าเพราะว่าบ่อยครั้งสามารถทำให้เกิดโรค Rabies และตายได้

สัตว์ป่าที่จับมาเลี้ยงโดยเฉพาะ foxes, raccoons, และ skunks แม้ว่าจะยังเล็กมากก็อาจจะเคยได้รับเชื้อ Rabies มาก่อนและอาจจะอยู่ในระยะฟักตัวของโรคเพราะว่าระยะฟักตัวของโรคอาจจะยาวนานมากถึง 1 ปี National Association of State Public Health Veterinarians แนะนำว่าสัตว์ที่จับมาจากธรรมชาติควรจะมีการกักโรคไม่ต่ำกว่า 180 วัน

14.  Tetanus

สัตว์กลุ่ม Primates,  Equidae, Proboscidae (elephants), Pongidae, Cervidae (deer), camelids, and wild sheep and goats ควรจะได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันการเกิด Tetanus การทำวัคซีนในสัตว์กลุ่ม Equidae และช้างจะใช้ตารางการทำวัคซีนเหมือนใน Domestic horses โดยจะฉีด tetanus toxoid เริ่มแรกที่อายุ 3 – 4 เดือน ฉีดเข็มที่ 2 หลังจากนั้น 1 เดือน และฉีดทุกปี

ในสัตว์กลุ่ม Pongidae จะทำวัคซีน  diphtheria, tetanus toxoid, and phase 1 pertussis (DPT) vaccines ที่ใช้สำหรับคน การทำวัคซีนครั้งแรก ฉีด 0.5 ml 3 ครั้ง ทุก 3 เดือน หลังจากนั้นฉีดที่ 1 ปี และทุก 3 – 5 ปี หรือเมื่อเกิดบาดเจ็บหรือผ่าตัด โดยฉีด diphtheria-tetanus toxoid หรือtetanus toxoid อย่างเดียว Monovalent tetanus toxoid ดีกว่าเพราะ  pertussis and diphtheria ยังไม่สามารถพิรจารณาได้ว่าเสี่ยงต่อ Nonhuman primate อย่างไร

ส่วนสัตว์ในกลุ่ม Wild sheep, goats และ cervids การทำวัคซีนเริ่มที่อายุ 10 – 12 สัปดาห์ ด้วย multivalent clostridial bacterin-toxoids ประกอบด้วย Clostridium tetani , C. perfringens (types B, C, D), C. septicum , C. chauvoei , C. novyi , C. sordellii ,และ C. haemolyticum ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เริ่มฉีดด้วย 5 ml หลังจากนั้น 6 สัปดาห์ฉีด 2 ml subcutaneous และฉีด 2 ml ทุกปี

15.  Miscellaneous

โรคติดเชื้อบางโรค เช่น bovine viral diarrhea (BVD), bluetongue, malignant catarrhal fever, และ epizootic hemorrhagic disease ในกวาง บางพื้นที่ถือเป็นปัญหาที่ร้ายแรง แต่วัคซีนยังไม่ใช้กันมากนักในสัตว์ป่า BVD vaccines เชื้อตายสามารถใช้ได้ในบริเวณที่เกิดการระบาดของโรคโดยเริ่มทำวัคซีนที่อายุ 3 เดือน ฉีดตาม dose ปกติ deep intramuscular

ส่วน bluetongue, epizootic hemorrhagic disease, and malignant catarrhal fever ยังไม่มีใช้แต่ว่าจำเป็นสำหรับ Ruminant ในบางพื้นที่ของสหรัฐอเมริกา

 

การทำวัคซีนในสัตว์กลุ่มต่างๆ

1.      กลุ่ม Felidae

ชนิดของวัคซีนที่สามารถทำได้ในสัตว์กลุ่มนี้ ชื่อทางการค้า และวิธีการใช้

1)      Fel-O-Vax PCT โดยบริษัท Fort Dodge เป็นวัคซีนเชื้อตายที่มี 3 โรคด้วยกันคือ FPV, FCV และFHV-1 ฉีด 1 ml Subcutaneous ที่บริเวณขาหลัง อายุ 10 – 12 สัปดาห์, 16 สัปดาห์, 6 เดือน และทุก 1 ปี

2)      Fel-O-Vax Lv-K-III  โดยบริษัท Fort Dodge เป็นวัคซีนเชื้อตายที่มี 4 โรคด้วยกันคือ FPV, FCV, FHV-1และFeLV

3)      Fel-O-Vax Lv-K โดยบริษัท Fort Dodge เป็นวัคซีนเชื้อตายของโรค FeLV

4)      PURVAX LEUCAT หรือ PUREVAC โดยบริษัท Merial's  เป็นวัคซีนเชื้อตายของโรคFeLVไม่มี adjuvant

5)      PRIMUCELL FIP โดยบริษัท Pfizer เป็นวัคซีนเชื้อเป็นของโรค FIP ให้โดย Intranasal ที่อายุ 16 และ 20 สัปดาห์

6)      Fel-O-Vax FIV โดยบริษัท Fort Dodge เป็นวัคซีนเชื้อตายของโรค FIV

7)      Emrap 3 หรือ Rabisin โดยบริษัท Merial's เป็นวัคซีนเชื้อตายของโรค Rabies ทำวัคซีนที่อายุ 12 – 18 สัปดาห์ และทุกปี

8)      Rabvac 3 โดยบริษัท Fort Dodge เป็นวัคซีนเชื้อตายของโรค Rabies ทำวัคซีนที่อายุ 12 – 18 สัปดาห์ และทุกปี

9)      FER-VAC-D โดย United Vaccine Co. in Madison, Wisconsin เป็นวัคซีนที่ผลิตขึ้นมาสำหรับ ferret โดยเฉพาะ สัตว์ขนาดเล็กให้วัคซีนครั้งละ 1 Dose (1 ml) ส่วนสัตว์ขนาดใหญ่ ให้วัคซีนครั้งละ 2 Dose

10)  Non adjuvant canine distemper PUREVAC โดยบริษัท Merial's วิธีการทำวัคซีนคือ สัตว์ขนาดเล็กให้วัคซีนครั้งละ 1 Dose (1 ml) ส่วนสัตว์ขนาดใหญ่ ให้วัคซีนครั้งละ 2 Dose

ข้อควรระวังและคำแนะนำในการทำวัคซีนสัตว์กลุ่มนี้

1)      เลือกวัคซีนเชื้อตาย

2)      เลือกวัคซีนที่ไม่มีส่วนผสมของ adjuvant เพื่อป้องกันการเกิด Oxidative damage

3)      ควรมีการเสริมวิตามิน E และ C เพื่อป้องกันการเกิด Oxidative damage

4)      ใช้เข็มฉีดวัคซีนให้เล็กที่สุดและสั้นที่สุดเพื่อป้องกันการอักเสบของผิวหนังจากการที่ขนไปอุดที่บริเวณแผลฉีดยาและเพื่อป้องกันการเกิด Sarcomas

5)      โรค FeLV มีรายงานในสัตว์เช่น Mountain lions, Cheetahs, Clouded leopard และแมวบ้านเท่านั้น

6)      การทำวัคซีน FeLV ทุกช่วงอายุควรมีการตรวจโรคนี้ก่อน

2.      กลุ่ม Ferrets และ Mustelidae อื่นๆ เช่น Mink, martin, otters, sable, weasels fishers, wolverine, tayra, grissons, , badgers, skunks

1)      Emrap 3 หรือ Rabisin โดยบริษัท Merial's เป็นวัคซีนเชื้อตายของโรค Rabies ฉีด Subcutaneous ที่อายุ 6 – 8 สัปดาห์, 10 – 16 สัปดาห์ และทุกปี

2)      Rabvac 3 โดยบริษัท Fort Dodge เป็นวัคซีนเชื้อตายของโรค Rabies ฉีด Subcutaneous ที่อายุ 6 – 8 สัปดาห์, 10 – 16 สัปดาห์ และทุกปี

3)      Merial's PUREVAX Ferret Distemper vaccine non-adjuvant canary pox product ฉีดทุกปี ส่วนวัคซีนเชื้อเป็นอื่นๆได้มีรายงานออกมามากมายว่าทำให้เกิด adverse reaction แต่ก็พบว่ามีการฉีดวัคซีน Duramune Dog line ของบริษัท Ft. Dodge ใน American otters and short claw Asiatic otters หลายชนิดโดยไม่ทำให้เกิด adverse reaction ใดใด

4)      Ft. Dodge's LCI-GP line ของโรค Leptospirosis สามารถให้กับสัตว์กลุ่มนี้ได้อย่างปลอดภัย แต่อุบัติการณ์ของโรคที่พบกับสัตว์กลุ่มนี้ถือว่าน้อยมากจึงอาจพิรจารณาไม่ทำวัคซีน นอกจากนี้ในประเทศไทยมี Strain ของเชื้อไม่ตรงกับต่างประเทศ ดังนั้นวัคซีนที่นำมาขายในประเทศไทยจึงไม่สามารถป้องกันโรค Leptospirosis Strain ที่มีอยู่ในประเทศไทยได้เลย

ข้อควรระวังและคำแนะนำในการทำวัคซีนสัตว์กลุ่มนี้

            การใช้วัคซีน FER-VAC-D โดย United Vaccine Co. in Madison, Wisconsin สามารถพบ adverse reaction ได้เป็นประจำ ดังนั้นการฉีดวัคซีนอาจทดสอบก่อนโดยการฉีดวัคซีน 0.05 ml ก่อน แล้วสังเกตุอาการ 10 นาที แล้วฉีดวัคซีนจนครบ Dose (1ml) แต่ถ้ามี adverse reaction เกิดขึ้นก็ให้ฉีด 2% pyrilamine maleate 0.1ml และ1:1000 epinephrine 0.1 ml หรืออีกวิธีหนึ่งคือให้ antihistamine เช่น diphenhydramine 0.45mg/lb ก่อนที่จะฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการเกิด adverse reaction นอกจากนี้ยังมีการศึกษาว่าระดับภูมิคุ้มกันของทั้ง Canine distemper และ Rabies สามารถอยู่ได้มากกว่า 3 ปีหลังจากฉีดวัคซีนครั้งสุดท้าย

ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีการนำวัคซีน FER-VAC-D และ Merial's PUREVAX Ferret Distemper vaccine non-adjuvant canary pox product เข้ามาจำหน่าย ส่วนในกรณีจำเป็นต้องทำวัคซีนโรค Canine distemper ให้เลือก Recombinant วัคซีน เช่น RECOMBITEK® (rCDV) ของบริษัท Merial's ซึ่งในคำแนะนำของผลิตภัณฑ์กล่าวว่าสามารถใช้กับสัตว์ป่าและสัตว์พิเศษได้

3.      กลุ่ม Procyomids เช่น Raccoons, coatis, kinkajous

1)      Emrap 3 หรือ Rabisin โดยบริษัท Merial's  หรือ Rabvac 3 โดยบริษัท Fort Dodge เป็นวัคซีนเชื้อตายของโรค Rabies ฉีด Subcutaneous ที่อายุ 12 – 18 สัปดาห์ และทุกปี

2)      Purvac Feline 4 โดยบริษัท Merial หรือ Fel-O-Vax โดยบริษัท Ft. Dodge เป็นวัคซีนของโรคpanleukopenia virus ฉีดที่อายุ 6 – 8 สัปดาห์, 10 – 16 สัปดาห์ และทุกปี

3)      Duramune Max5/4/L โดยบริษัท Fort Dodge เป็นวัคซีนของโรค canine distemper, leptospirosis and parvovirus ฉีดที่อายุ 6 – 8 สัปดาห์, 10 – 16 สัปดาห์ และทุกปี

4)      Merial's non-adjuvanted canine distemper PureVax

4.      กลุ่ม Canidae เช่น Wolves, Coyotes, Foxes, Hyenas

1)      Duramune Max5/4/L โดยบริษัท Fort Dodge เป็นวัคซีนของโรค canine distemper, leptospirosis and parvovirus ฉีดที่อายุ 8 – 10 สัปดาห์, 12 – 16 สัปดาห์, 18 – 20 สัปดาห์ และทุกปี

2)      Emrap 3 หรือ Rabisin โดยบริษัท Merial's  หรือ Rabvac 3 โดยบริษัท Fort Dodge เป็นวัคซีนเชื้อตายของโรค Rabies ฉีด Subcutaneous ที่อายุ 12 – 18 สัปดาห์ และทุกปี

3)      Merial's RABORAL V-RG เป็น rabies vaccineแบบกิน สำหรับสัตว์พิเศษและสัตว์ป่าโดยเฉพาะ

 

5.      Opossums

1)      Emrap 3 หรือ Rabisin โดยบริษัท Merial's  หรือ Rabvac 3 โดยบริษัท Fort Dodge เป็นวัคซีนเชื้อตายของโรค Rabies ฉีด Subcutaneous ที่อายุ 12 – 18 สัปดาห์ และทุกปี

6.      กลุ่ม Bovids และ Cervids เช่น Hoof Stock, Bison, and Buffalo

1)      Km;pl'

7.      กลุ่ม Suidae และ Peccary

1)      ทำวัคซีนโรค Atrophic Rhinitis ซึ่งเกิดได้จากเชื้อ 2 ชนิดด้วยกันคือ Mycoplasma hypopneumonia และ Bordetella bronchioseptica ส่วนของ Mycoplasma hypopneumonia ให้ทำวัคซีน M+PAC โดยบริษัท Schering-Plough 1ml 2 ครั้งห่างกัน 3 สัปดาห์ ส่วน Bordetella ให้ใช้วัคซีน Naramune-2, produced โดยบริษัท Boehringer ซึ่งเป็น modified live  vaccine ทำวัคซีนโดย intranasal

2)      Emrap 3 หรือ Rabisin โดยบริษัท Merial's  หรือ Rabvac 3 โดยบริษัท Fort Dodge เป็นวัคซีนเชื้อตายของโรค Rabies ฉีด Subcutaneous ที่อายุ 12 – 18 สัปดาห์ และทุกปี

8.      Emus

1)      Triple-E Encephalomyelitis Vaccine โดยบริษัท  SOLVAY Animal Health Inc, Mendota Heights, MN. USA. สำหรับโรค Eastern, Western และ Venezuelan encephalitis

9.      Monkeys

1)      Diptheria/Pertussis (whooping cough)/Tetanus (DPAT) vaccinations (DAPTACELโดยบริษัท Avantis Pasteur ทำวัคซีน 0.5cc IM ที่อายุ two months and six months of age.

2)      IPOL trivalent killed vaccine สำหรับโรค poliomyelitis โดยบริษัท Avantis Pasteur ทำวัคซีน 0.5 ml, Subcutaneously at 4 months and again at 6-18 months of age

3)      M-M-Rโดยบริษัท Merck & Co. Inc สำหรับโรค Measles, Mumps and Rubella (German measles) ทำวัคซีน 0.5ml vaccine subcutaneously at four months and again at 8-12 months of age

4)      Aventis Tetanus Toxoid Adsorbed U.S.P. ซึ่งเป็นวัคซีนที่ใช้ในคนสำหรับโรค Tetanus ทำวัคซีนทุก 5 ปี

10.  Tortoise

1)      ป้องกันการเกิดโรค mycoplasmosis โดยการฉีด M+PAC Mycoplasma hypopneumoniiae 0.1ml  โดยบริษัท Shering-Plough และ Mycoplasma gallisepticum bacterin,  MG-Bac 0.1ml โดยบริษัท Ft Dodge's. subcutaneously ด้านในของขาหลัง

สรุป

            การเลือกทำวัคซีนในสัตว์กลุ่มนี้ควรเลือกทำในกรณีที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น เช่น กรณีเกิดโรคระบาด, โรคสัตว็ติดคน เพราะว่ายังไม่มีการผลิตวัคซีนที่ใช้สำหรับสัตว์กลุ่มนี้โดยเฉพาะซึ่งทำให้คาดการผลจากการทำวัคซีนได้ยากทั้งในแง่ของการกระตุ้นภูมิและผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น กรณีที่จำเป็นต้องเลือกทำวัคซีนควรเลือกวัคซีนเชื้อตาย ใช้เข็มที่เล็กและสั้นที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ นอกจากนี้เราควรมีการวัดระดับแอนติบอดี้ ภายหลังการทำวัคซีนร่วมด้วย เพื่อให้รู้ระดับภูมิคุ้มกันในตัวสัตว์ และประเมิณผลของวัคซีนเพื่อใช้เลือกทำวัคซีนในสัตว์ชนิดนั้นๆต่อไปด้วย

 

 

 

 

อ้างอิง

 

1.      Ron Hines College of Veterinary Medicine, Davis CA and Mitch Bush of the Smithsonian National Zoo.

2.      Merial Technical Solutions Team 2002 Control of Raccoon Rabies Using Merial's RABORAL V- RG vaccine

3.      Merck veterinary manual; vaccination of exotic mammal

Read more!

Wednesday, December 12, 2007

Dusit Zoo Animals

The giant anteater at Dusit Zoo.



This is the male.


These are the supposedly tiger tracks.
Read more!